วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
แบบฝึกหัดบทที่ 7
แบบฝึกหัดบทที่ 7 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.จงอธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1.1 ด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อเศรษฐกิจ
- มนุษย์สามารถจับจ่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ร่วงหน้า
ก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิด ผลดีคืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่
ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษย์ธรรมหรือความมีน้ำใจไป
1.2 ด้านการศึกษา ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่าCAIนั้นทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
- ครูกับนักเรียนจะคาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกัน เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป
ทำความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียน
ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
1.3 ด้านกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและทัศนคติส่วนบุคคลการรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรมปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม
2. จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด
ตอบ ด้านการศึกษา เพราะเป็นการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน
นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียน
ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
3. จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการาดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
ตอบ
ด้านการเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
ด้านการดำรงชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
4. จงบอกผลเสียของการนำของเสียมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
ตอบ
1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น
3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเพยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
6. เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้และผู้ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
8. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมอง คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีผลเสียต่อสายตา ซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศีรษะนอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท
อ้างอิง
http://tikpanya.blogspot.com/2013/01/7.html
แบบฝึกหัดบทที่ 6
แบบฝึกหัดบทที่ 6 การสืบค้น และการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต
1.แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ แหล่งสารสนเทศ (Information Sources) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศทุกรูปแบบ แหล่งของทรัพยากรสารสนเทศหรือที่มาของสารสนเทศ แหล่งผลิตสารสนเทศ แหล่งเผยแพร่สารสนเทศหรือเรียกว่า ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)
2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใด ได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูลสารสนเทศรูปแบบใด
ตอบ 1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (library)
ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีบริการครอบคลุมหลายด้าน แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน บริการยืม – คืน และบริการช่วยการค้นคว้า ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น 5 ประเภทได้แก่
- ห้องสมุดโรงเรียน (school library) จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์ ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
2. ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ ตัวเลข รายงานการวิจัย สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายห้องสมุด ฝ่ายการเอกสาร และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย (ศบอ.) ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.จงยกตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล (search engine)ว่ามีชื่ออะไรและมีรูปแบบและเทคนิคการสืบค้นข้อมูลอย่างไรมาอย่าง 1ตัวอย่าง
ตอบ 1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory 2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engineการค้นหาในรูปแบบ Index Directory วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีกส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอาSite ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ(Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
4.จงบอกลักษณะของบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งให้บริการต่อไปนี้
ตอบ 1. FTP
ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
2.E-mall
Electronic Mail หรือ จดหมายอิเล็คทรอนิกส์
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
รูปแบบชื่อ Email Address จะเป็น yourname@sanook.com
1. yourname คือ ชื่อที่เราสามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ (แต่ต้องไม่ซ้ำกับของคนอื่น)
2. เครื่องหมาย @ สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name
3. sanook.com คือ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name
ชนิดของการรับส่ง E-mail
1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม E-mail โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.sanook.com, www.yahoo.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น การรับส่ง E-mail แบบที่ 1 ตามปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงสมัครเป็นสมาชิกกับWeb site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น ก็สามารถจะตรวจสอบ E-mail ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
3.ICQ I SEEK YOUคือชื่อของโปรแกรมสื่อสารตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมไป ทั่วโลก ทำงานแบบ Instant Message มีลูกเล่นในการใช้งานมากมาย ให้ความ เพลิดเพลิน อย่างมากเพราะ ในขณะที่เราเชื่อมต่อกับINTERNET โปรแกรม ICQ จะบอกเราว่า มีใครออนไลน์ พร้อมๆเราบ้าง ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวใน CYBER SPACE ซึ่งจะ แตกต่างกันโปรแกรมสื่อสารแบบอื่นๆ ที่เราต้องเข้าไปดู ว่ามีใครมาเล่นใน ตอนนี้บ้างมีหลักการใน การเล่น ที่แตกต่างจากการ Chat แบบอื่นๆสามารถเล่นได้ แม้ในขณะที่เรา ต้อง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ ทำงาน อย่างอื่นอยู่ เนื่องจาก โปรแกรมนี้ มีการทำงานอย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องพึ่ง Browser ในการใช้งาน และ ให้ความรู้สึกที่เป็นส่วนตัว ในการเล่นและมีความรู้สึกที่ ผูกพันกับ User คนอื่นๆ เพราะว่าเราสามารถสร้าง สมุด ติดต่อ (Contact list) ซึ่งจะทําหน้าที่ เก็บรายชื่อเพื่อนๆ ได้อย่างอิสระ (ไม่ชอบใคร ก็ไม่ต้องนํามาใส่ใน Contact list ของเรา) และเมื่อผู้ใช้คนไหน ออน ไลน์เราก็จะรู้ได้ทันที และเราสามารถส่งข้อความ Chat หรือส่งURLกับเพื่อนๆ ใน Contact list ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จนมีคํากล่าวว่า "ICQ ทําให้เรารู้สึกใกล้ชิดกันได้ แม้ว่าจริงๆเรา จะอยู่ ห่างกันเป็นหมื่นๆไมล์" รับรองได้ว่าถ้าคุณได้ลองเล่น ICQ แล้ว จะต้องติดใจ และทึ่งในความสามารถ ของโปรแกรม เล็กๆตัวนี้
4.Web board WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoardจะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
อ้างอิง
http://sawitripat.blogspot.com/
http://www.moe.go.th/stm/read/icq.shtml
https://sites.google.com/site/prawatiemail/prayochn-laea-khwam-sakhay-khxng-e-mail
แบบฝึกหัดบทที่ 5
แบบฝึกหัดที่ 5
บทที่ 1
1.จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุ
ตอบ จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork)คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบเสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ
2. ความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ตอบ การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" (NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน
ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
3. องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไร และมี URL ว่าอย่างไร
ตอบ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider) ชั้นนำในประเทศ โดยการร่วมทุนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) โดยใช้ชื่อบริการว่า“Ji-NET” โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual), บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงาน/องค์กร (Corporate), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านวงจรคู่สายเช่า (Ji-NET Leased-Line Internet), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet), การให้บริการรับฝากข้อมูล (Data Center),บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม IPSTAR
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการ BranchConnext บริการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา ด้วยโครงข่ายการสื่อสาร ADSL และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนบุคคล VPN เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยบริษัทได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากหลากหลายผู้นำทางธุรกิจ ลูกค้าที่บริษัทฯได้ให้บริการติดตั้งเครือข่ายไปแล้วได้แก่ MK Restaurant, เทเวศร์ประกันภัย, ปูนซีเมนต์, และ เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ เป็นต้น
รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย
http://www.urlbookmarks.com/support/urlfaq.htm
1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www/urlbookmarks)
3. ประเภทของเวบไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือเช่น.com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network) ฯลฯ
4. ไดเร็กทอรี่ (/support/)
5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)
ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เนตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
4. ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไร และทำหน้าที่อะไร
ตอบ สมาคมอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2535 ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้ทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่าInternet Activities Board ทำหน้าที่จัดการงานบรรณาธิการและตีพิมพ์เอกสาร อาร์เอฟซี และการกำหนดหมายเลขเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต โดยไอเอบีมอบภาระงานทั้งสองนี้ให้กับ บรรณาธิการอาร์เอฟซี (RFC Editor) และ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ตามลำดับ
ออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) ทำหน้าที่ด้านเทคนิคโดยการสร้าง ทดสอบ และนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
ไออาร์ทีเอฟ (IRTF : Internet Research Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานวิจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) เพื่อใช้งานในปัจจุบัน ไออาร์ทีเอฟมีคณะวิจัย (Research Groups) ในด้านต่างๆได้แก่ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล การประยุกต์ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี
5.จุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน
ตอบ (IP address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (อังกฤษ: domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
แบบฝึกหัดบทที่ 4
แบบฝึกหัดที่ 4
1. องค์ประกอบของการสือสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ
ตอบ การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล
มีหน้าที่ เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร
มีหน้าที่ รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น
2. ความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล
ตอบ สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน
อนาล็อก กับ ดิจิตอล ต่างกันอย่างไร? อนาล็อก กับ ดิจิตอล มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณ และความแม่นยำของสัญญาณ
3. ทิศทางของสารข้อมูลมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล
สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว”(One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร
4.คุณสมบัติของสายสัญญาณ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง พร้อมจัดลำลับสาย
สัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ
ตอบ
Minimum Frequency (สูงสุด)
|
100 MHz
|
100 MHz
|
250 MHz
|
Attenuation (สูงสุด)
|
24 dB
|
24 dB
|
36 dB
|
NEXT (ต่ำสุด)
|
27.1 dB
|
30.1 dB
|
33.1 dB
|
PS-NEXT(ต่ำสุด)
|
N/A
|
27.1 dB
|
33.2 dB
|
ELFEXT(ต่ำสุด)
|
17 dB
|
17.4 dB
|
17.3 dB
|
PS-ELFEXT(ต่ำสุด)
|
14.4 dB
|
14.4 dB
|
12.3 dB
|
ACR(ต่ำสุด)
|
3.1 dB
|
6.1 dB
|
-2.9 dB
|
PS-ACR(ต่ำสุด)
|
N/B
|
3.1 dB
|
-5.8 dB
|
Return Loss(ต่ำสุด)
|
8 dB
|
10 dB
|
8 dB
|
Propagation Delay (สูงสุด)
|
548 nsec
|
548 nsec
|
546 nsec
|
Delay Skew (สูงสุด)
|
50 nsec
|
50 nsec
|
50 nsec
|
5. หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้
ตอบ 1.อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)
อุปกรณ์ทวนสัญญาณ ทำงานใน Layer ที่ 1 OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณ (ข้อมูล) เดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้ Repeater เนื่อง จากว่าการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อย ๆ จึงไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกล ๆ ได้ ดังนั้นการใช้ Repeater จะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยที่สัญญาณไม่สูญหาย
2. บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ ทำงานใน Layer ที่ 2 ของ OSI Mode เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ Segment ของเครือข่าย 2 Segment หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดย Segmentเหล่านั้นจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้ Data Link Protocol ตัวเดียวกัน และ Network Protocol ตัวเดียวกัน เช่น ต่อ Token Ring LAN (LAN ที่ใช้ Topology แบบริง และใช้โปรโตคอล Token Ring) 2 Segment เข้าด้วยกัน หรือต่อ Ethernet LAN (LAN ที่ใช้ Topology แบบบัส และใช้โปรโตคอล Ethernet) 2 Segment เข้าด้วยกัน เป็นต้น Bridge มีความสามารถมากกว่า Hub และ Repeater กล่าวคือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายใน Segment เดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปใน Segment เดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไป Segment อื่น แต่หากว่าข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่Segment อื่น ก็จะส่งข้อมูลไปใน Segment ที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สวิตซ์
สวิตซ์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Layer-2 Switch และ Layer-3 Switch ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Layer-2 Switch หรือ L2 Switch ก็คือ Bridge แต่เป็น Bridge ที่มี Interface ในการเชื่อมต่อกับ Segment มากขึ้น ทำให้สามารถแบ่งเครือข่าย LAN ออกเป็น Segment ย่อย ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายได้ดียิ่งขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานของ L2 Switch ก็สูงกว่า Bridge ทำให้ในปัจจุบันนิยมใช้งาน L2 Switch แทน Bridge
Layer-3 Switch หรือ L3 Switch ก็คือ Router ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง โดย L3 Switch นี้จะสามารถจัดการกับเครือข่ายที่มี Segment มาก ๆ ได้ดีกว่า Router
4. เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โปรโตคอลตัวใดก็ตามเนื่องจากว่า Gateway สามารถ แปลงรูปแบบแพ็คเก็ตของโปรโตคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโปรโตคอลหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายได้ เช่น แปลงรูปแบบแพ็คเก็ตของ TCP/IP ไปเป็น Apple Talk เป็นต้น ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดแต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของ Gateway ไว้ใน Router แล้ว ทำให้Router สามารถทำงานเป็น Gateway ได้จึงไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ตัวนี้อีกแล้ว
6. เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัสและแบบวงแหวน
ตอบ 1.โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ
ลักษณะการส่งข้อมูลการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ข้อดี1.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
2.มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
3.ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อเสีย1.การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
2.ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่มเช่นกัน
การส่งต่อโทเคน (Token Passing)
วิธีที่จะส่งข้อมูลในโทโปโลยีแบบวงแหวนเรียกว่าการส่งต่อโทเคน โทเคนเป็นข้อมูลพิเศษที่ส่งผ่านในเครือข่ายแบบวงแหวน แต่ละเครือข่ายจะมีเพียงโทเคนเดียวเท่านั้น โทเคนนี้จะส่งต่อกันไปเรื่อยๆ สำหรับเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลเมื่อได้รับโทเคนแล้วก็จะมีสิทธิ์ที่จะส่งข้อมูล การส่งข้อมูลก็ทำได้โดยใส่ที่อยู่ของเครื่องรับไว้ในข้อมูลแล้วส่งต่อๆ กันไป เมื่อข้อมูลมาถึงเครื่องปลายทาง หรือเครื่องที่มีที่อยู่ตรงกับที่ระบุในเฟรมข้อมูล เครื่องนั้นก็จะนำข้อมูลไปโพรเซสส์ และส่งเฟรมข้อมูลตอบรับกลับไปยังเครื่องส่งเพื่อบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเครื่องส่งได้รับการตอบรับแล้ว ก็จะส่งผ่านโทเคนต่อไปยังเครื่องถัดไป เพื่อเครื่องอื่นจะได้มีโอกาสส่งข้อมูลบ้าง
ข้อดี-ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus
-ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
-ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
ข้อเสีย-ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้
-ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด
7.ความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ (Physical level ) และระดับตรรก (Logical level)
ตอบ ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ (Logical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับภายนอก เช่น การเพิ่มเอนติตี้ , แอททริบิวท์ และความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิด จะไม่กระทบกับมุมมองภายนอก หรือไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ความเป็นอิสระของข้อมูลในระดับกายภาพ (Physical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในไม่ส่งผลกระทบต่อระดับแนวคิด การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในได้แก่ การใช้โครงสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ หรือโครงสร้างการจัดเก็บใหม่ , ใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบอื่น , การแก้ไขดัชนีหรืออัลกอริธึมแบบแฮช
8.ความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่าย Peer-to-
Peer และแบบ Client server
ตอบ Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบclient-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น serverเพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด
ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559
แบบฝึกห้ดที่ 3
แบบฝึกหัดที่ 3
ไฮเปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆทั้งในรูปของข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) ลักษณะงานของไฮเปอร์มีเดีย
1.1 การ สืบค้น (Browsing) ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบท เรียนต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถ สำรวจเลือกเส้นทางวิธีการขั้นตอนการเรียนรู้ตามความพอใจหรือตามแบบการเรียน (Leaning-Style) ของแต่ละคน ทั้งนี้เป็นไป ภายใต้เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือบทเรียน ไฮเปอร์มีเดียกำหนดไว้
1.2 การเชื่อมโยง (Linking) ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยัง แฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนการเชื่อมต่อไปยัง เครือข่ายภายนอก เช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต (Intranet) อินเตอร์เน็ต (Internrt)เป็นต้น
1.3 สร้างบทเรียน (Authoring) หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะ พิเศษ น่าสนใจเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาแล้ว การสร้างบทเรียนแบบ ไฮเปอร์มีเดียโดยทั่วไป ปัจจุบันอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) สำหรับการสร้างโดยเฉพาะ ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายโปรแกรม เช่นHypercard,Hyper Studio,Authoware,Tooolbook,Linkway,Micro Wold, Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ ในประเทศไทย ได้แก่ Authoware,Toolbook Dreamweaver PowerPoint ตัวอย่างข้อมูลประเภทไฮเปอร์มีเดีย ภาพกราฟิก ภาพกราฟิกคือ ภาพที่ผ่านการตกแต่งด้วยโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจเป็นภาพที่ถูกวาดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หรือเป็นการนำภาพถ่ายมาทำการรีทัชตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยใช้โปรแกรมกราฟิกมาเป็นตัวสร้างสรรค์จนได้ภาพที่สมบูรณ์ เช่น โปรแกรม lllustrator , CoreDraw , Paint Shop Priและ Photoshop CS เป็นต้น คุณค่าของงานกราฟิก และ ความสำคัญของงานกราฟิก งานกราฟิกเน้นในการสื่อสารด้วยศิลปะระหว่างผู้สร้าง กับผู้รับ (ผู้ดู ผู้เห็น) ดังนั้น คุณค่าของงานกราฟิกก็จะเกี่ยวข้องกับผลระหว่างผู้สร้างและผู้รับด้วยเช่นกัน คือ
• เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย • สร้างระบบการเรียนรู้ • สร้างความเร้าใจ น่าสนใจ ประทับใจ และความเชื่อถือได้ของผลงาน • สร้างความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ โดยการประยุกต์ความคิดจากผลงานเดิม • สร้างอาชีพและรายได้ • ได้แนวคิดที่ดี มองโลกในแง่ดี เห็นความสวยงามของชีวิต จรรโลงความดีงามในจิตใจของ มนุษย์ให้สืบต่อไป จากงานกราฟิกเน้นในการสื่อสารด้วยศิลปะระหว่างผู้สร้าง กับผู้รับ (ผู้ดู ผู้เห็น)ดังนั้นงานกราฟิกจึงมีความสำคัญดังนี้ • ช่วยสรุปความคิด จินตนาการออกมาเป็นข้อมูลที่สื่อสารได้ง่าย • สร้างระบบการถ่ายทอดที่มีความเด่นชัด แปลความหมายได้รวดเร็ว • ช่วยสร้างสรรค์วัตถุประดิษฐ์ใหม่ และมีประโยชน์ต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของ มนุษย์ • สร้างระบบการเรียนรู้ สร้างแนวคิดใหม่ๆ • สร้างค่านิยมทางความคิดที่งดงาม • สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธุรกิจ สังคม ภาพกราฟิกเกิดขึ้นได้อย่างไร ภาพกราฟิกเกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green)และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ชนิดของรูปภาพที่ปรากฎบนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกตามลักษณะการจัดเก็บข้อมูลได้ 2 ชนิดด้วยกันคือ รูปภาพแบบบิตแมปและรูปภาพแบบเวคเตอร์
1. ภาพกราฟิกแบบ Raster (Bitmap) ภาพกราฟิกแบบ Raster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบ Bitmapเป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ที่เรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้น การกำหนดจำนวนพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่จะสร้าง เช่น งานที่มีความละเอียดน้อย หรือภาพสำหรับเว็บไซต์ ควรกำหนดจำนวนพิกเซล ประมาณ 72 ppi (pixel / inch คือ จำนวนพิกเซลใน 1 ตารางนิ้ว) แต่ถ้าเป็นงานแบบพิมพ์ เช่น นิตยสาร ปกหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดประมาณ 300 - 350 ppi เป็นต้น ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Photoshop, Paint เป็นต้นภาพกราฟิกแบบ Raster ที่ขยายใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Raster(Bitmap) และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Raster มีหลายนามสกุล เช่น .BMP .DIB .JPG .JPEG .GIF .TIFF .TIF ,PCX .MSP ,PCD .PCT .FPX .IMG .MAC .MSP และ .TGA เป็นต้น ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันออกไป .JPG, .JPEG, .GIF - ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่ โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ Photoshop, PaintShopPro, Illustrator เป็นต้น .TIF, .TIFF - เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง โปรแกรมที่ใช้สร้างคือPhotoshop เป็นต้น .BMP, .DIB - เป็นไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ PaintShopPro, Paint .PCX - เป็นไฟล์ดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพแบบบิตแมป ไม่มีโมเดลเกรย์สเกล ใช้กับภาพทั่วไปโปรแกรมที่ใช้สร้างคือ CorelDraw, Paintbrush, Illustrator เป็นต้น
2.ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบVector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3Ds Max แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector ที่ขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มภาพกราฟิกแบบ Vector และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Vector มีหลายนามสกุล เช่น .EPS .WMF .CDR .AI .CGM .DRW .PLT ,DXF .PIC และ .PGL เป็นต้น ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันออกไป .AI, .EPS - ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก้ เป็นต้น - โปรแกรมที่ใช้สร้าง Illustrator .WMF - เป็นไฟล์มาตรฐานของโปรแกรม Microsoft Office - โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ CorelDraw
3. โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานไฮเปอร์มีเดีย โปรแกรมสำหรับสร้างงานไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Authoring) โปรแกรม Asymetrix Toolbook II เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอักษร และการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์ มีโปรแกรมบันทึกและตัดต่อเสียง ให้มาพร้อมกับโปรแกรมหลัก เหมาะสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดีย เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือการนำเสนอสารสนทเศต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายๆ ไปจนถึงงานที่ซับซ้อน แนวคิดพื้นฐานของ Toolbook พอสรุปได้ดังนี้ 1. งานของ Toolbook เปรียบเสมือนหนังสือ (Books) ซึ่งหนังสือเล่มหนึ่งๆ ประกอบด้วยหน้าหนังสือหลายๆ หน้า และหน้า หนังสือประกอบไปด้วยพื้นหลัง (Background) และหน้า (Page) หรือพื้นหน้า (Foreground) ซึ่งพื้นหน้าของหน้าหนึ่งๆ มีลักษณะ เหมือนแผ่นพลาสติกโปร่งใส ซ้อนกันหลายๆ แผ่น
4. โปรแกรมสร้างงานไฮเปอร์มีเดีย เช่น ToolBook, Macromedia, Director, Macromedia Authoware อย่างน้อย 1 โปรแกรม ตัวอย่างของโปรแกรม Macromedia Authoware ที่ใช้ในการทดลองใช้ เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยม และทำงานได้เช่นเดียวกับ Toolbook มีทั้งเวอร์ชั่นสำหรับวินโดส์ และสำหรับแมคอินทอช โปรแกรมนี้ มีคุณสมบัติต่างๆ ในการออกแบบรวมทั้งแจกจ่ายไปยังผู้ใช้ ได้แก่
1. ใช้เทคนิคการทำงานเชิงวัตถุ (Object Authoring) เช่นเดียวกับ Toolboook ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม
2. มีเครื่องมือสำหรับมัลติมีเดีย (Multimedia Tool) อย่างสมบูรณ์ พร้อมสำหรับการสร้างงานที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว
3. ความสามารถในการเชื่อมโยง (Link) สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาภายใน และติดต่อไปยังทรัพยากรภายนอกระบบ ทั้งการใช้ฐาน ข้อมูล และคอมพิวเตอร์เครือข่าย แนวคิดพื้นฐานของคุณสมบัติของของการใช้วิธีจัดผังลำดับการแสดง (Map Design) กล่าวคือ สิ่งที่จะแสดงหรือนำเสนอ เช่น ภาพ หรือตัวอักษรทั้งหมด จะถูกวางเป็นแผนผังเอาไว้ บนพื้นที่หรือหน้าต่าง (Windows) อันหนึ่งก่อน โดยใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งเหล่านั้น แล้ว จึงบรรจุสิ่งที่ต้องการให้แสดงจิงๆ ลงไป แผนผังดังกล่าวประกอบด้วย เส้นลำดับงานหรือโฟลว์ไลน์ (Flowline) และสัญรูป หรือไอคอน (Icon) เป็นหลักในการจัดวาง ขั้นตอนการสร้างงานด้วย Authoware โดยย่อมี ดังนี้ 1. ลากไอคอนอันใดอันหนึ่งตามที่ต้องการ จากแผงไอคอน (Icon Pallette) ซึ่งมีทั้งหมด 15 ไอคอน ไปวางบนโฟลว์ไลน์ 2. เลือก (ดับเบิลคลิก) ที่ไอคอนที่ต้องการใส่ข้อมูลบนโฟลว์ไลน์ จะเกิดหน้าต่างว่างหรือกรอบโต้ตตอบขึ้นมา ทั้งนี้จะเป็นไปตาม ไอคอนนั้นๆ เช่นหากเป็นไอคอนให้ใส่ภาพหรือตัวอักษร (Display Icon) จะเเกิดหน้าต่างว่างและแถบเครื่องมือขึ้น แต่หากเป็นไอคอน สำหรับให้ใส่เสียง (Sound Icon) จะเกิดหน้ากรอบโต้ตอบขึ้น 3.บรรจุข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการนำเสนอลงไปตามชนิดของไอคอน ตัวอักษรหรือกราฟฟิกง่ายๆ อาจสร้างใน Authoware ได้เลย แต่ถ้าหากเป็นข้อความหรือกราฟฟิกที่มีลักษณะพิเศษ รวมถึงรูปภาพ เสียง และวิดีโอ จะต้องนำภาพเข้าจากแฟ้มข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ การบรรจุข้อมูลดังกล่าวรวมไปถึงการเลือกรูปแบบการทำงาน การกำหนดค่าตัวแปรและฟังก์ชั่นต่างๆ 4. ปฏิบัติตาม 1-3 สำหรับไอคอนหรือการทำงานอื่นๆ ตามที่ต้องการ 5. ตรวจสอบการทำงาน หรือทดลองใช้ โดยใช้คำสั่งให้ Run ดูได้ทันที ซึ่งสามารถสั่งรันทั้งหมดหรือรันเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งก็ได้ ทั้ง Toolbook และ Authoware เป็นโปรแกรมสร้าง ไฮเปอร์มีเดีย ที่มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน มีองค์ประกอบต่างๆ ได้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้นผู้เริ่มต้นจึงอาจสร้าง ไฮเปอร์มีเดีย โดยใช้องค์ประกอบเพียงบางส่วนง่ายๆ ก่อน เพื่อสามารถสร้างงานได้ในระดับ หนึ่งแล้วจึงค่อยๆ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสร้างงานที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ การเริ่มต้นสร้างไฮเปอร์มีเดีย โดยพยายามศึกษา องค์ประกอบต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้ทุกอย่างแล้วจึงลงมือสร้าง อาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้องใช้เวลามากและอาจขาด ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา โปรแกรมอื่นๆ นอกจากโปรแกรม Toolbook และ Authoware ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีโปรแกรมสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดียอีกหลาย โปรแกรมสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดียอีกหลายโปรแกรมแต่ไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับ Toolbook และ Authoware เช่น Micro World, Hyper Card, Super Link, Hyper Studi
วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559
แบบฝึกหัดที่ 2
แบบฝึกหัดที่ 2
1.ลักษณะของข้อมูลที่ดี
ตอบ 1.ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ถ้าข้อมูลที่เก็บมาเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้ การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ รูปแบบการจัดเก็บ ข้อมูลต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
3.ความสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์คือข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งจะขึ้นกับวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการประมวลผล ดังนั้นใน การดำเนินการรวบรวมข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามความต้องการในการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
4.ความกระชับและชัดเจน การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่มาก จึง จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กระชับและสื่อความหมายได้ อาจมีการใช้รหัสแทน ข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
5.ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อ หาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล และขอบเขตของข้อมูลที่ สอดคล้องกับความต้องการ
2.องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
ตอบ 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบนอกที่ต่อเข้ากับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจับต้องได้
ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความ
สะดวกในการบริหารระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขนาดของหน่วยความจำหลัก
ความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำสำรอง อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและอุปกรณ์ออก
รายงานต้องรองรับการประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ซอฟท์แวร์ (Software)
ซอฟท์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่ง
ระบบจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วยซอฟท์แวร์ 2 ประเภท คือ
3204-2005 ระบบฐานข้อมูล
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล
84.2.1 ซอฟแวร์ระบบ ซึ่งเรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management
System:DBMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลและควบคุมดูแลการสร้างฐานข้อมูล สร้าง
ตาราง การเรียกใช้ข้อมูล การจัดทำรายงาน การปรับเปลี่ยน แก้ไขโครงสร้าง ทำหน้าที่ในการจัดการ
ฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูล ใน
การติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูล จะต้องติดต่อผ่านโปรแกรม DBMS
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลหรือโปรแกรม DBMS
1) ช่วยกำหนด และเก็บโครงสร้างฐานข้อมูล
2) ช่วยดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ข้อมูลที่นำมาประมวลผลด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการรับและเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการ
ประมวลผล
3) ช่วยเก็บและดูแลข้อมูล ข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน
โดยมีระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นผู้ดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้น
4) ช่วยประสานงานกับระบบปฏิบัติการ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้องพึ่ง
ระบบปฏิบัติการในการทำงาน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจะคอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมต่างๆ ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการประสานงานกับระบบปฏิบัติการ
ในการเรียกใช้ แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล ออกรายงาน เป็นต้น
5) ช่วยควบคุมความปลอดภัย ระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีวิธีควบคุมการ
เรียกใช้ข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบแตกต่างกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่
จะเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล
6) การจัดทำข้อมูลสำรองและการกู้คืน ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการสำรอง
ข้อมูลของฐานข้อมูล เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับฐานข้อมูล เช่น แฟ้มข้อมูลเสียหายเนื่องจากดิสก์เสีย หรือ
ถูกโปรแกรมไวรัสทำลายข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้ระบบสำรองนี้ในการฟื้นฟูสภาพการ
ทำงานของระบบให้สู่สภาวะปกติ
7) ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้ในระบบ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้
หลายคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการควบคุมการใช้ข้อมูล
พร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน โดยมีการควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม
8) ควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการควบคุม
ค่าของข้อมูลในระบบให้ถูกต้องและเชื่อถือได้
9) ทำหน้าที่จัดทำพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางซอฟท์แวร์ ทำ
หน้าเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล เช่น โครงสร้างของแต่ละตาราง ใครเป็นผู้สร้าง
สร้างเมื่อใด และแต่ละตารางประกอบด้วยเขตข้อมูลใดบ้าง คุณลักษณะของแต่ละเขตข้อมูลเป็น
อย่างไร มีการเรียกใช้อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ใดบ้าง และมีตารางใดที่มีความสัมพันธ์กันบ้าง มีเขต
ข้อมูลใดเป็นคีย์บ้าง เป็นต้น (สมจิตร อาจอินทร์ และงามนิจ อาจอินทร์, 2540 : 38)4.2.2 ซอฟท์แวร์ใช้งาน (Application Software) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้
เครื่องมือต่างๆ ของ DBMS ในการทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การเข้าถึงข้อมูล การออกรายงาน ฯลฯ
โปรแกรมใช้งานนี้ถูกเขียนโดยการใช้ภาษาระดับสูงที่สามารถติดต่อสื่อสารกับ DBMS ได้ เช่น ภาษา
SQL, Visual Basic เป็นต้น
3.ข้อมูล (Data)
ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลควรเก็บรวมรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ ไว้ด้วยกัน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะถูกเก็บในแฟ้มข้อมูลต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะ
สามารถทำได้ ซึ่งผู้ใช้หลายๆ คน สามารถเรียกใช้หรือดึงข้อมูลชุดเดียวกันได้ ณ เวลาเดียวกัน หรือ
ต่างเวลากันได้
4.บุคลากร (Personal)
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล มีดังนี้
4.1 ผู้ใช้ทั่วไป (User) เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้งานสำเร็จ
ลุล่วงได้4.2 พนักงานปฏิบัติการ (Operator) เป็นผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล การป้อน
ข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
4.3 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่
วิเคราะห์ออกแบบฐานข้อมูล และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้
4.4 ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน (Programmer) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนโปรแกรม
ประยุกต์ใช้งานต่างๆ เพื่อให้การจัดเก็บ การเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
4.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่
ควบคุมและบริหารทรัพยากรฐานข้อมูลขององค์กร ควรมีความรู้ทั้งหลักการบริหารและด้านเทคนิค
ของระบบจัดการฐานข้อมูล เนื่องจากผู้บริหารฐานข้อมูลจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและประสานงาน
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์ และผู้ใช้ เพื่อให้
การบริหารระบบฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากที่กล่าวมาแล้วถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีในระบบฐานข้อมูล แต่ละองค์ประกอบจะมี
ควาความสำ คัญ จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ และแต่ละองค์ประกอบนี้จะมี
ความสัมพันธ์กัน องค์ประกอบที่มีในระบบฐานข้อมูล
3.ระบบการจัดการข้อมูล
ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้
4.1 MIS
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดี
ระบบMIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
ระบบMIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
ระบบMIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
ระบบMIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
ระบบMIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4.2 DSS
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทางานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทาโต้ตอบกัน
เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน
DSS เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
ระบบ DSS เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาโดยคาดหวังว่าผู้ใช้โดยทั่วไป สามารถเรียนรู้ได้และนำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จาเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น
– โปรแกรม โลตัส 1-2-3
– MS- Excel, MS-Word
– MS-PowerPoint
4.3 ES
ตอบ ในปัจจุบันมีผู้กล่าวขานถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT SYSTEM:ES) และปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELIGENCE : AL) กันมากขึ้นทุกขณะ จนบางครั้งเรายากที่หาความแตกต่างเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งในที่นี้ได้ หมายถึงฮาร์ดแวร์ซอฟด์แวร์ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพขึ้นมาอย่างมากและความสามารถของมันก็ไม่ได้หยุดนิ่งเลย ทำให้มนุษย์เกิดความคิดที่จะทำให้มนุษย์เป็นผู้เขียนโปรแกรมคำสั่งให้กับมันโดยตรง ดังนั้น คำว่า จึงได้กำเนิดขึ้นและ AL ได้ถูกแยกออกเป็น 2 แนวทางด้วยกัน โดยแนวทางแรกเป็นแนวทางที่จะให้คอมพิวเตอร์รับรู้ถึงภาษามนุษย์ เช่น ผู้ใช้จะพูดผ่านไมโครโฟนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ว่า "ให้แสดงยอดรายงานการขายวันนี้" คอมพิวเตอร์ก็จะทำการดึงข้อมูลการขายมาประมวลผลการวิจัยทางด้านนี้ได้พัฒนาไปมาก และมีแนวโน้มที่จะเป็นจริงได้ในอนาคต ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ได้นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเก็บไว้กล่าวคือ ระบบจะเก็บเอาปัจจัยทุกประการที่ผู้เชี่ยวชาญต้องคำนึงถึงตามปัจจัยต่างๆ และหาคำตอบให้กับผู้ใช้ ระบบช่วยการตัดสินใจหรือ DSS ต่างกับระบบผู้เชี่ยวชาญตรงที่ว่า ระบบช่วยการตัดสินใจเพียงแต่เสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้หรือนักบริหารเท่านั้น ดังนั้นผู้ตัดสินใจสุดท้ายคือ ผู้ใช้อีก ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญจะให้คำตอบซึ่งเป็นการตัดสินใจของระบบเองเลย โดยไม่ต้องมาผ่านผู้ใช้ซึ่งเป็นคนอีก ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญที่มีใช้ปัจจุบันและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญของ AMEX ที่ใช้สำหรับตรวจสอบเครดิตของผู้ใช้บัตร
4.4 DP
ตอบ เป็นหน่วยของความละเอียดหน้าจอ ที่สมมติขึ้นมาในแอนดรอยด์ โดยอิงจาก Resolution, Size และ Density ของจอบนเครื่องนั้นๆ
4.5 EIS
ตอบ EIS ย่อมาจาก executive information system แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
หมายถึง การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559
คำถามท้ายบทบที่ 1
แบบฝึกหัดที่ 1
1. ข้อมูล (Data) แตกต่างจากสารสนเทศ ( Information) อย่างไร จงอธิบาย
dataหมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/31899
Information หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น
ที่มาhttp://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post_30.html
2. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้ LAN, MAN, WAN, Cyberspace, Mainframe, Microcomputer
LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค
การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ
1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน
ข้อดีของระบบ LAN
เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
ข้อเสียของระบบ LAN
ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้
ข้อมูลอ้างอิง
http://th.wikipedia.org
http://hexon.wikispaces.com
MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.compspot.net
WAN ย่อมาจาก Wide Area Networks คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลมาก เป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น WAN ต่างกับ LAN ตรงที่สามารถเชื่อมโยงได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า
เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของ ข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.compspot.net
cyberspace หมายถึง พื้นที่ว่างในที่นี้หมายถึง ที่ว่าง หรืออวกาศ ที่สร้างขึ้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เพื่อสื่อสารติดต่อกัน ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทั่วโลกเหมือนท่องไปในอวกาศ เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
mainframe หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง เครื่องเมนเฟรม, หน่วยประมวลผลส่วนกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์
microcomputer หมายถึง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.compspot.net
3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านใดบ้าง
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
https://www.blog.eduzones.com
4. จงยกตัวอย่างของระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของ
ระบบที่ยกตัวอย่างมาพอสังเขป
การสื่อสารในชีวิตประจำวัน
Posted on February 16, 2013 by thangmo295 Standard
ของเล่นที่ใช้รีโมตคอนโทรล (Remote-Controlled Toys) ของเล่นที่ใช้รีโมตคอลโทรล อย่างเช่น รถหุ่นยนต์ เป็นต้น ถูกควบคุมแบบไร้สาย และของเล่นที่ตอบสนองเหมือนมีชีวิต เช่น ของเล่นระบบดิจิตอล เรียกว่าเพอร์บี้ (Furbies) จะใช้เทคโนโลยีแบบไร้สายส่งข้อมูลของตัวเองไปยังผู้อื่น
โทรศัพท์มือถือ (Cell Phone) นี่คืออุปกรณ์ที่ทุกๆ คน นึกถึงเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีแบบไร้สาย
รีโมตคอลโทรล (Remote Control) ทุก ๆ ครั้งที่คุณกดรีโมตคอนโทรลเพื่อเปลี่ยนช่องสัญญาณ หรือเสียง หรืออื่น ๆ คุณกำลังใช้เทคโนโลยีแบบไร้สายซึ่งใช้รังสีอินฟราเรด
ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network) บ้านหลาย ๆ บ้านทุกวันนี้ไม่ใช่มีแต่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ระบบเครือข่ายโดยเทคโนโลยีแบบไร้สายสามารถเชื่อมต่อกันได้ และสามารถที่จะใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางเคเบิลโมเด็มได้ด้วย
เพจเจอร์ (Pager)
เมื่อมีใครส่งข้อมูลถึงคุณ เทคโนโลยีแบบไร้สายกำลังถูกใช้ในการส่งสัญญาณ
โทรทัศน์ (Television)
ญญาณภาพและเสียงของโทรทัศน์ถูกส่งแบบไร้สาย สัญญาณโทรทัศน์ที่คุณรับชมจากบริษัทเคเบิลนั้นถูกส่งมาแบบไร้สายผ่านทางดาวเทียม
วิทยุ (Radio)
วิทยุทุกชนิด รวมทั้งคลื่นวิทยุเอเอ็ม คลื่นวิทยุเอฟเอ็ม และวิทยุเคลื่อนที่ รับสัญญาณโดยการใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย
โทรทัศน์ (Television)
ญญาณภาพและเสียงของโทรทัศน์ถูกส่งแบบไร้สาย สัญญาณโทรทัศน์ที่คุณรับชมจากบริษัทเคเบิลนั้นถูกส่งมาแบบไร้สายผ่านทางดาวเทียม
คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop Computer)
คอมพิวเตอร์ปารล์มทอป อย่างเช่น ปาล์ม จะมีอุปกรณ์สื่อสารหรือโมเด็มอยู่ด้วย ดังนั้นจึงสามารถส่งหรือรับอีเมล์ และข่าวสารต่าง ๆ ได้
เครื่องรับส่งวิทยุระยะสั้น (Walkie-Talkies)
เครื่องรับส่งวิทยุระยะสั้นหรือ Walkie-Talkies ทั้งสมัยใหม่และเก่า ใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย
ตัวควบคุมการเปิดปิดประตู (Garage Door Opener)
ทุกครั้งที่คุณเปิดประตูโรงงานของคุณคุณกำลังใช้เทคโนโลยีไร้สานเพื่อเปิดประตู
1 เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายนั้นสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ 2 ทาง คือใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด(Infrared) และ เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ถ้าใช้อินฟราเรด เม้าส์และคีย์บอร์ดจะต้องชี้ตรงไปที่พอร์ตอินฟราเรดของคอมพิวเตอร์ในการใช้งาน แต่ถ้าเป็นคลื่นความถี่วิทยุนั้นไม่จำเป็น ในตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายนั้นทำงานอย่างไร อย่างเช่น เม้าส์และคีย์บอร์ดไร้สายที่สร้างโดยบริษัท Logitech
2 คีย์บอร์ดโดยปกติจะมีสายติดอยู่และเสียบอยู่กับพอร์ตของคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ BIOS (Basic Input/Output System) และระบบปฏิบัติการจะตรวจหาคีย์บอร์ดเอง และจะจัดการกับคีย์บอร์ดนั้นให้สามารถป้อนข้อมูลเข้ามาทางพอร์ตที่ต่อได้ ถ้าเป็นคีย์บอร์ดหรือเม้าไร้สายคุณจะเสียบเครื่องรับความถี่วิทยุที่คีย์บอร์ดหรือพอรต์ USB แทน
ซึ่ง BIOS และระบบปฏิบัติการจะตรวจหาเครื่องรับความถี่วิทยุราวกับว่ามันเป็นคีย์บอร์ดแบบไร้สาย
3 เมื่อคุณกดปุ่มคีย์บอร์ดหรือเคลื่อนเม้าส์ อุปกรณ์จะสร้างสัญญาณดิจิตอลเหมือนกับที่มันทำเป็นปกติ
เช่น เมื่อกดปุ่ม A มันจะแปลงเป็นรหัสคีย์บอร์ดที่คอมพิวเตอร์เข้าใจว่านั่นคือตัวอักษร A สำหรับกรณีนี้รหัสอักษร A คือ 1E
4 คีย์บอร์ดและเม้าส์ไร้สายจะมีอุปกรณ์ส่งคลื่นความถี่วิทยุด้านใน อุปกรณ์ส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณดิจิตอลออกมากับความถี่วิทยุที่ความถี่ 27 MHz
5 อุปกรณ์รับคลื่นความถี่วิทยุจะคอยรับสัญญาณอยู่ตลอดเวลาที่ความถี่ 27 MHz เมื่อมันได้รับสัญญาณมันจะทำการแปลงสัญญาณความถี่วิทยุนั้นไปเป็นสัญญาณดิจิตอลที่คอมพิวเตอร
์เข้าใจ และส่งสัญญาณนี้ไปที่คอมพิวเตอร์เหมือนกับที่คีย์บอร์ด โดยปกติจะทำงานโดยผ่านการทำงาน
ของ BIOS และระบบปฏิบัติการ
6 คอมพิวเตอร์ทำตามสัญญาณที่ส่งมา เช่น แสดงตัวอักษร A ที่หน้าจะคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
1 ขณะนี้ชนิดของไวรัสไร้สายยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่ในปีหน้านั้นอาจจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชนิดของไวรัสไร้สายจะขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานอยู่ ไวรัสตัวแรกที่สร้างปัญหา
กับโทรศัพท์มือถือชื่อ Timotonica ซึ่งเป็นไวรัสที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งต่อไปยังโทรศัพท์มือถือ บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ถูกโจมตีโดยไวรัสที่ชื่อ Spanish Company Telefonica
การแพร่ไวรัสชนิดนี้ในขั้นต้นคือ เริ่มจากคนที่ใช้ Microsoft Outlook ในการรับส่งอีเมล
โดยได้รับอีเมลที่มีไฟล์ที่มีไวรัสนี้อยู่
2 จากนั้น เมื่อคน ๆ นั้นเปิดเพื่ออ่านเมลนั้นบนคอมพิวเตอร์ของตัวเอง คอมพิวเตอร์จะติดไวรัสทันทีเมื่อ
มีการเปิดไฟล์เพื่อดู แต่ถ้าไม่เปิดก็ไม่มีปัญหาอะไร
3 เมื่อเปิดไฟล์ที่มีไวรัสอยู่ ไวรัสจะทำการผังตัวเองอยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และจากนั้นจะทำการคัดลอกตัวเองและส่งไปยังคนอื่น ๆ ที่อยู่ในรายการชื่อของอีเมลที่อยู่ที่ Outlook
นั้น
4 นอกจากจะคัดลอกตัวเองและส่งไปยังรายชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในรายการชื่อแล้ว มันยังส่งอีเมลแบบข้อความไปยังเกตเวย์ของศูนย์บริการ SMS (Short Message Service)
โดยมีการส่งตรงไปที่ผู้ใช้บริการของ Telefonica เท่านั้น โดยปกติ SMS ก็จะให้คนที่ใช้
โทรศัพท์มือถือนั้นเปิดดูข้อความที่ส่งมา เหมือนกับการส่งข้อความของคอมพิวเตอร์เช่นกัน
5 เกตเวย์ทำการเปลี่ยนอีเมลไปเป็นข้อความในรูปแบบของ SMS และส่งข้อความนั้นไปแบบไร้สาย
6 ผู้ใช้บริการของ Telefonica จะได้รับข้อความ SMS ที่สร้างโดยไวรัส ข้อความพร้อมกับไวรัสนั้นไม่ได้ทำอันตรายกับโทรศัพท์มือถือ แต่มันจะไปขัดขวางการเดินทางของ
ข้อมูลต่าง ๆ ของเครือข่ายเซลลูลาร์ของ Telefonica แม้ว่าไวรัสตัวนี้ไม่ได้สร้างปัญหากับผู้ใช
้โทรศัพท์มือถือมากนัก แต่หลายคนเชื่อว่าในอนาคตนั้นโทรศัพท์มือถือจะกลายเป็นเป้าหมายของ
ไวรัสตัวจริงไม่ใช่แค่เล่นตลก ๆ เท่านี้ โดยเฉพาะเมื่อโทรศัพท์มือถือนั้นมีความใกล้เคียงกับ
คอมพิวเตอร์ในเรื่องของรูปแบบ การทำงานและฟังก์ชันต่าง ๆ ไวรัสเหล่านี้สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น
สามารถที่จะปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือเอง หรือสามารถที่จะลบข้อมูลทั้งหมดในรายการชื่อในสมุด
ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือได้ เป็นต้น
1 ขณะนี้ชนิดของไวรัสไร้สายยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่ในปีหน้านั้นอาจจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชนิดของไวรัสไร้สายจะขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานอยู่ ไวรัสตัวแรกที่สร้างปัญหา
กับโทรศัพท์มือถือชื่อ Timotonica ซึ่งเป็นไวรัสที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งต่อไปยังโทรศัพท์มือถือ บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ถูกโจมตีโดยไวรัสที่ชื่อ Spanish Company Telefonica
การแพร่ไวรัสชนิดนี้ในขั้นต้นคือ เริ่มจากคนที่ใช้ Microsoft Outlook ในการรับส่งอีเมล
โดยได้รับอีเมลที่มีไฟล์ที่มีไวรัสนี้อยู่
2 จากนั้น เมื่อคน ๆ นั้นเปิดเพื่ออ่านเมลนั้นบนคอมพิวเตอร์ของตัวเอง คอมพิวเตอร์จะติดไวรัสทันทีเมื่อ
มีการเปิดไฟล์เพื่อดู แต่ถ้าไม่เปิดก็ไม่มีปัญหาอะไร
3 เมื่อเปิดไฟล์ที่มีไวรัสอยู่ ไวรัสจะทำการผังตัวเองอยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และจากนั้นจะทำการคัดลอกตัวเองและส่งไปยังคนอื่น ๆ ที่อยู่ในรายการชื่อของอีเมลที่อยู่ที่ Outlook
นั้น
4 นอกจากจะคัดลอกตัวเองและส่งไปยังรายชื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในรายการชื่อแล้ว มันยังส่งอีเมลแบบข้อความไปยังเกตเวย์ของศูนย์บริการ SMS (Short Message Service)
โดยมีการส่งตรงไปที่ผู้ใช้บริการของ Telefonica เท่านั้น โดยปกติ SMS ก็จะให้คนที่ใช้
โทรศัพท์มือถือนั้นเปิดดูข้อความที่ส่งมา เหมือนกับการส่งข้อความของคอมพิวเตอร์เช่นกัน
5 เกตเวย์ทำการเปลี่ยนอีเมลไปเป็นข้อความในรูปแบบของ SMS และส่งข้อความนั้นไปแบบไร้สาย
6 ผู้ใช้บริการของ Telefonica จะได้รับข้อความ SMS ที่สร้างโดยไวรัส ข้อความพร้อมกับไวรัสนั้นไม่ได้ทำอันตรายกับโทรศัพท์มือถือ แต่มันจะไปขัดขวางการเดินทางของ
ข้อมูลต่าง ๆ ของเครือข่ายเซลลูลาร์ของ Telefonica แม้ว่าไวรัสตัวนี้ไม่ได้สร้างปัญหากับผู้ใช
้โทรศัพท์มือถือมากนัก แต่หลายคนเชื่อว่าในอนาคตนั้นโทรศัพท์มือถือจะกลายเป็นเป้าหมายของ
ไวรัสตัวจริงไม่ใช่แค่เล่นตลก ๆ เท่านี้ โดยเฉพาะเมื่อโทรศัพท์มือถือนั้นมีความใกล้เคียงกับ
คอมพิวเตอร์ในเรื่องของรูปแบบ การทำงานและฟังก์ชันต่าง ๆ ไวรัสเหล่านี้สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น
สามารถที่จะปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือเอง หรือสามารถที่จะลบข้อมูลทั้งหมดในรายการชื่อในสมุด
ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือได้ เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิง
https://thangmojune.wordpress.com
5. จงอธิบายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณใน
ด้านใดและอย่างไร
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ ย่อมเกิดผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยแง่บวกจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น ทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ส่วนด้านลบคือทำให้เกิดมลพิษ
ต่าง ๆ มากมาย หรือถ้า เทคโนโลยีเหล่านั้นทำงานผิดพลาดในระบบสำคัญ ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ ผลกระทบนี้ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตและการทำงานของมนุษย์หลาย ๆ ด้าน และต่อสถาบันที่ให้บริการสารสนเทศ ดังนี้
1. ด้านการรักษาพยาบาล ระบบการรักษาพยาบาลทางไกล คนไข้สามารถใช้บริการของโรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชียวชาญ สามารถพูดคุยกับคนไข้ทางจอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์เพื่อดูอาการ และวินิจฉัยโรคได้
2. ด้านความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต
2.1 ระบบ “การซื้อสินค้าทางไกล (Tele Shopping ) เช่น การซื้อสินค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การดูโฆษณาสินค้าบนระบบเครือข่าย ติดต่อสื่อสารกับผู้ขายเพื่อ ดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า
2.2 ระบบธนาคารทางไกล(Tele-Banking ) ลูกค้าสามารถใช้บริการธนาคารได้ที่บ้าน เช่นการโอนเงิน การขอดูยอดคงเหลือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของธนาคารที่ผู้นั้นใช้บริการอยู่
2.3 ด้านความบันเทิง เช่นการเลือกชมภาพยนตร์ที่บ้านโดยใช้บริการ”Video on Demand “ หรือ ”การเลือกชมรายการภาพยนตร์ตามความสนใจ”
2.4 ด้านการศึกษา การเรียนการสอนทางไกล(Tele-Education )
2.5 ด้านการติดต่อสื่อสาร การใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์(E-mail )
2.6 ด้านการติดตามข้อมูล ความรู้ข่าวสารเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ช่วยให้การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารระหว่างกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว
2.7 ด้านธุรกิจ ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ(Tele-Conference ) ทำให้ประหยัดเวลาเดินทางไม่ต้องไปร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน
ในส่วนที่เป็นสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น ห้องสมุด เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งโครงสร้างการดำเนินงาน การบริหาร และการจัดการ อาคารห้องสมุด และผู้ใช้ห้องสมุด
ผลกระทบทางบวก
1. เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
2. เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกัน อย่างรวดเร็ว
3. มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางการแพทย์ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลกหรือใช้วิธี ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
4. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาวะของสังคม
5. พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการ เรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
6. การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ
7. ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้นผู้ผลิตผลิต สิ้นค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผลกระทบทางลบ
1. ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความ เครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้น ทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การทำงานต้องรวดเร็ว เร่งรีบเพื่อชนะคู่แข่ง ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หากทำไม่ได้ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องยุบเลิกไป เมื่อชีวิตของคนในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศต้องแข่งขัน ก็ย่อมก่อให้เกิดความเครียดสูงขึ้น
2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่า นิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
3. ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆ เสื่อมสลายลง
4. การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังรรค์กันจะ มีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียน ระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น
5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วน บุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่ สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
6. เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร ก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งมากยิ่งขึ้น
7. เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การ สาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ โดยที่ประชาชนของประเทศส่วนมากยังขาดความรู้ใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการทำงาน คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน สังคมรุ่นใหม่จะยอมรับในเรื่องของความรู้ความสามารถมากกว่ายอมรับวัยวุฒิ และประสบการณ์ในการทำงานเหมืนเช่นเดิม
8. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จัก กันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์ (Cracker) โดยเฉพาะแฮกเกอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานสำคัญๆ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย แต่ไม่ทำลายข้อมูล หรือหาประโยชน์จากการบุกรุกคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แต่ก็ถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนแครกเกอร์ คือ ผู้ซึ่งกระทำการถอดระหัสผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถนำเอาโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ใหม่ได้เป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการลักลอกหรือเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง
9. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า อีกโรคหนึ่ง คือ โรคคลั่งช้อปปิ้งทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะการเสนอสินค้าทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลูกค้าสนใจเข้าไปช้อปปิ้งดูสินค้าต่างๆ ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่สนใจของจิตแพทย์ นอกจากนั้นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดโรคอาร์เอสไอ (Repetitive Strain Injury : RSI) ซึ่งมีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานานๆ ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มือ และนิ้วเกิดบาดเจ็บขึ้นเมื่อใช้อวัยวะนั้นบ่อยครั้ง เส้นประสาทรับความรู้สึกเกิดเสียหายไม่รับความรู้สึกหรือรับน้อยลง
ทั้งนี้ทั้งนั้นผลกระทบของไอทียังสามารถแบ่งออกได้หลายด้าน ดังนี้
ด้านธุรกิจ
1. ไอทีมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในธุรกิจที่สนใจได้ทันทีทันใด บนพื้นฐานของข้อมูลที่กำหนดให้
2. ไอทีช่วยให้ต้นทุนในการผลิตและการบริการลดลง
3. ลดการติดต่อสื่อสารผ่านคนกลาง โดยผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรงทำให้ลดขั้นตอนในการ สื่อสารและทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง
ด้านสื่อสารมวลชน
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารทำได้รวดเร็ว และ เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
2. ด้วยรูปแบบที่หลากหลายของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลหลายหลายขึ้นอีกทั้งยังให้ข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
ด้านโครงสร้างทางสังคม
1. ทำให้องค์กรเข้าถึงมวลชนได้ง่ายขึ้นทำให้สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกันได้มากขึ้น
2. ทำให้ประชาชนมีอำนาจในการต่อรองกับรัฐมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายทำให้ทราบความเลื่อนไหวที่เกิด ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา
1. เกิดการแพร่หลายทางวัฒนธรรมที่มาจากต่างถิ่น เพราะทุกคนสามารถเสาะหาข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่
ในปัจจุบัน
2. ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงด้วยตัวเอง และทันทีทันได้ที่ต้องการเรียนรู้
3. ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านภาษา และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมัน
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.kkw.ac.th/kkwweb/teacherhead/webpookie/pensil/lesson3.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)