วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

จริยธรรมในการใช่งานอินเทอร์เน็ต

      
จริยธรรมในการใช่งานอินเทอร์เน็ต

        จริยธรรม (Ethics) ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตคือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเเนวปฏิบัติหรือควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเพพื่อกระทําในสิ่งที่ถูกต้องเเละหลีกเลี่ยงการกระทําความผิดต่อผู้อื่น ผู้ใช้ควรระมัดระวังเเละปฏิบัติตามคําแนะนําในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ เลย




 
       1.ด้านมารยาท ผู้ใช้งานนั้นควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมนุษย์มีความรู้สึกต่างๆเหมือกับตน ผู้ใช้จึงควรยึดถือมารยาทในการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต เช่น
      - ควรศึกษาเเละปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาทในการใช้เว็บต่างๆ ตามที่ผุ้ให้บริการกําหนดไว้
      - ควรคํานึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่จะอัปโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร         
      - ควรใช้อินเทอร์เน้ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าการทําให้เกิดความเสียหายต่อตนองเเละผู้อื่น
      - ควรใช้อินเตอร์เน็ตอย่างคุ้มค่าเเละประหยัดเวลา
      - ควรมีความรู้ในเรื่องที่เเสดงความคิดเห็นเเละเเสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง
      - ไม่ควรเเอบอ้างหรือนําข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ก่อนได้รับอนุญาติ และหากนําข้อมูลของผู้อื่นมาก็ควรมีอ้างอิงหรืระบุข้ออย่างชัดเจน
      - ไม่โกหก ไม่หลอกลวง ไม่หวังผลกําไร และไม่ใส่ร้ายผู้อื่่น
      - ไม่ส่งเสริมการกระทําความผิดใดๆบนอินเทอร์เน็ต
      - ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเเตกเเยกหรือทะเลาะกันบนอินเทอร์เน็ต
      - ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการทดลองความรู้ในทางที่ผิด
      - ไม่นําเรื่องของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต
      - ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือความลําคาญให้เเก้ผู้อื่น เช่น การโฆษณา





    
       2.ด้านภาษา ภาษาทางอินเทอร์เน็ตเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ภาษาเเรก คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ สอง คือ ภาษาอังกฤษ ตังอย่างหลักการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตเช่น
       - พิมพ์ภาษาให้ถูกต้องทั้งในด้านตัวสะกดเเละรูปแบบ
       - ใช้ภาษาที่สุภาพเเละใช้ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
       - ไม่ใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย หรือความหมายกํากวมไม่หมาะสม
       - ควรเลือกใช้ภาษาที่สั้น ชัดเจน เเละกะทัดรัด
       - ก่อนการส่งข้อมูลผู้ใช้ควรอ่านทบทวนข้อมูลหรือข้อความที่ต้องการส่งก่อนลิส่งข้อมูลนั้น





    
         3.ด้านความปลอดภัย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลากหลาย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทําผิดกฎหมายต่างๆ ตัวอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น
       
        - ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกอย่างมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ไปไม่มีที่สิ้นสุด
        - ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนสมทารถแสดงข้อมูลใดๆก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่เเสดงอาจไม่ใช้ข้อมูลจริง
        - ควรตรวจสอบเว็บไซต์หรือไฟล์ข้อมูลก่อนอัปโหลดเเละดวน์โหลด ข้อมูลนั้นทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่กันไวรัสเข้าคอมพิวเตอร์
        - ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เช่น หมายเลขบัตรประชาชน
        - ไม่หลงเชื่อข้อความหรือข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่มีเเหล่งข้อมูลที่ชัดเจน
        - ไม่เปิดหรือดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่ส่งมาจากเเหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ











อ้างอิง: https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/4-3-criythrrm-ni-kar-chi-ngan-xinthexrnet






วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนบรรณานุกรม

ความหมายของบรรณานุกรม

        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง


จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม

        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้


วิธีเขียนบรรณานุกรม

        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้

        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ





1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง
           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว




 1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2





  1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3



 

1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ    1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง






1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง






 1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย






  1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล






 1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์






 1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 
           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






                    2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






                    3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






                   4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






    1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ
                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง





                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง






                           1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย






                         2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก






                  ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ






                    3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”






                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”





     
                    5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”







2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร






     2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่





    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี






3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์






    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์





   3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว






   3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์






4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต

    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ






  4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)

















อ้างอิง ; http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm





วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ


ารประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ






ขั้นตอนการประเมินวิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ






การประเมินสารสนเทศ

เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า  มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น สารสนเทศที่ไม่ใช้ เช่น เป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงกับความต้องการ, เนื้อหาสารสนเทศล้าสมัย หรือ สารสนเทศนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ จากการประเมินสารสนเทศจะทำให้เราได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม


หลักการประเมินสารสนเทศ

  1. ประเมินความตรงกับความต้องการสารสนเทศ 
       พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการสารสนเทศของเราหรือไม่ ตรงมากน้อยเพียงใด โดยเลือกเรื่องที่ตรงกับความต้องการ ตัดทิ้งเรื่องที่ไม่ตรงกับความต้องการ
       วิธีการ คือ การอ่านเบื้องต้น ได้แก่
      การอ่านชื่อเรื่อง คำนำ  หน้าสารบัญ หรือเนื้อเรื่องย่อๆ  เพื่อพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการสารสนเทศหรือไม่
      ซึ่งส่วนใหญ่ ชื่อเรื่องของสารสนเทศก็อาจจะสามารถประเมินได้ทันทีว่า ตรงหรือไม่ตรง เนื่องจาก คำสำคัญเป็นคำเดียวกันกับความต้องการสารสนเทศและชื่อเรื่องของสารสนเทศ แต่หากชื่อเรื่องไม่บ่งชัดว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันอาจต้องพิจารณาจาก คำนำ สารบัญ และเนื้อหาโดยย่อ



   2. ประเมินความน่าเชื่อถือและความทันสมัยของสารสนเทศ
         พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงไร ซึ่งการประเมินความน่าเชื่อถือมีรายละเอียดที่ควรพิจารณา ได้แก่
          2.1 ประเมินความน่าเชื่อถือของ แหล่งสารสนเทศ โดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้มาจากแหล่งสารสนเทศใด โดยส่วนใหญ่ แหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนั้นจะเป็นแหล่งสารสนเทศสถาบัน เช่น ห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจากบรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือไม่มีความน่าเชื่อเลย คือ การรับรู้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองเนื้อหาเองว่าเนื้อหาจากเว็บไซต์ใดที่น่าเชื่อถือ
          2.2 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศ โดยพิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้นๆ เป็นรูปแบบใด lสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น 
          2.3 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ รวมทั้งความน่าเชื่อถือผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน มักจะมีความน่าเชื่อถือในแวดวงวิชาการนั้นๆ หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นภาครัฐบาล องค์กร สมาคม มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคล 
               ตัวอย่าง เช่น กรณีที่เป็นบทความวิชาการ ให้พิจารณาว่า ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้นๆ มีชื่อเสียงในทางวิชาการ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้เขียน/ผู้จัดทำ/สำนักพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และต้องมีความต่อเนื่องในการเผยแพร่
         2.4 ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์พิจารณาความทันสมัย จาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น
    

  3.ประเมินระดับเนื้อหาของสารสนเทศ  ซึ่งระดับเนื้อหาสารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่

   1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือควรนำมาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการเรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น
 2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาเขียนใหม่ อธิบาย เรียบเรียง วิจารณ์ใหม่ให้เข้าใจง่ายเพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้สารสนเทศ หรือเป็นเครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ บทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
 3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ 2 ระดับแรก ที่ไม่ได้ให้เนื้อหาสารสนเทศโดยตรงแต่เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีวารสารและวารสารสาระสังเขป


การวิเคราะห์สารสนเทศ
เป็นการแยกแยะสารสนเทศที่ผ่านการประเมินแล้วว่าตรงตามความต้องการ โดยวิธีการแยกแยะสารสนเทศตามหัวข้อ หรือ ประเด็นย่อยๆ สรุปเนื้อหา
       วิธีการในการวิเคราะห์สารสนเทศคือการรับรู้ การอ่านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการประเมินแล้วว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ จากนั้นดึงเนื้อหาของสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา และมีความครบถ้วน แล้วทำการบันทึกเนื้อหาโดยบันทึกเรื่องเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน และสุดท้ายคือจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิดเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป

การสังเคราะห์สารสนเทศ
       เป็นการตีความสารสนเทศจากหลากหลายทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาเดียวกัน คล้ายคลึงกัน หรือเกี่ยวข้องกัน แล้วนำมาสรุปให้เป็นประเด็นเดียว หรือ คำตอบเพียงคำตอบเดียว
วิธีการคือการจัดกลุ่มสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน เอาไว้ด้วยกัน แล้วนำสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันมาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ตามลำดับชั้น จากนั้นนำแนวคิดต่างๆ ที่เราได้สร้างความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มของแนวคิด มารวบรวมเป็นโครงสร้างใหม่ ในรูปของโครงร่าง หรือ Outline โดยรวบรวมหัวข้อหรือประเด็นที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน หรือตัดที่ซ้ำซ้อนออก เรียงลำดับขั้นตอนของหัวข้อหรือประเด็น
       สุดท้ายคือการประเมินโครงร่าง ที่ได้ทำขึ้น ว่าตอบคำถามในงานของเราได้ครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน ก็ต้องกลับไปเริ่มที่กระบวนการสืบค้นใหม่






อ้างอิง ; http://autano.blogspot.com/2012/01/5.html




วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ทรัพยากรสารสนเทศ


ทรัพยากรสารสนเทศ

 ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
        ทรัพยากรสารสนเทศ  คือ  วัสดุที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ ทุกสาขาวิชา
ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ
        1.  ให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
        2.  เป็นหลักฐานอ้างอิงประกอบการค้นคว้า
        3.  เสริมสร้างสติปัญญาทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทันโลก ทันเหตุการณ์ และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
        4.  สามารถนำความรู้ที่ได้จากทรัพยากรสารสนเทศ  มาพัฒนาตนเอง  ในด้านต่าง ๆ ทำให้ ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทและลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศ
        ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
             1)  วัสดุตีพิมพ์
             2)  วัสดุไม่ตีพิมพ์  หรือโสตทัศนวัสดุ
        1. วัสดุตีพิมพ์  คือ  สิ่งพิมพ์ที่มีการบันทึกความรู้  ความคิดของมนุษย์นำมารวบรวมเป็นเล่ม  ให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าและใช้อ้างอิง  แบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้  ดังนี้
             1.1  หนังสือ  แบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ
                    1.1.1  หนังสือสารคดี  คือ  หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ  ได้แก่





  1) ตำราวิชาการ  คือ  หนังสือที่เขียนขึ้นตามหลักสูตรในสถาบันการศึกษา ระดับต่าง ๆ ใช้ประกอบการเรียนการสอน  เช่น  แบบเรียนวิชาต่าง ๆ




  2)   หนังสืออ่านประกอบ  คือ  หนังสือที่เขียนขึ้น  เพื่อใช้อ่านประกอบ ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้ได้ความรู้ละเอียดลึกซึ้ง  เช่น  หนังสืออ่านประกอบระดับมัธยมศึกษาที่จัดพิมพ์ และเผยแพร่โดยกรมวิชาการ  เป็นต้น




 3)  หนังสือความรู้ทั่วไป  คือ  หนังสือที่ผู้เขียนต่าง ๆ เรียบเรียงขึ้นตาม ความสนใจของผู้เขียน  เช่น  ความรู้รอบตัว เป็นต้น




 4)  หนังสืออ้างอิง  คือ หนังสือที่มีลักษณะรวบรวมความรู้ไว้หลากหลายเพื่อใช้ ค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม เรียบเรียงตามลำดับอักษรของเรื่อง หรือเนื้อหา ที่ต้องการค้น เช่น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  และพจนานุกรมไทย-อังกฤษ  สารานุกรมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น




 5)  ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ คือ บทนิพนธ์ที่เรียบเรียงขึ้น เพื่อประกอบการศึกษาระดับบัณฑิต





  6)  สิ่งพิมพ์รัฐบาล คือ หนังสือที่ผลิตโดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เช่น หนังสือรายงานประจำปี  ราชกิจจานุเบกษา  และหนังสือรายปี  เป็นต้น




                    1.1.2  หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์และจินตนาการ มุ่งให้ความบันเทิงเป็นสำคัญ เช่น หนังสือนวนิยาย  หนังสือรวมเรื่องสั้น  หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น




             1.2  สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  คือ  สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้  ได้แก่
                    1.2.1  หนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม  ข่าวการศึกษา  ข่าวกีฬา  ข่าวธุรกิจ  ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการ และ สาระน่ารู้   เป็นต้น




                    1.2.2  วารสารและนิตยสาร  คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกตามเวลาที่กำหนด  ได้แก่
                              1) วารสารรายสัปดาห์  มีกำหนดออกสัปดาห์ละ  1  ฉบับ
                              2) วารสารรายปักษ์  มีกำหนดออก  2  สัปดาห์  1  ฉบับ
                              3) วารสารรายเดือน  มีกำหนดออกเดือนละ  1  ฉบับ
                              4) วารสารราย 3  เดือน มีกำหนดออก 3  เดือน  1  ฉบับ เนื้อหาในวารสารจะ เน้นหนักทางวิชาการ ส่วนเนื้อหาในนิตยสารจะเน้นบันเทิง



                    1.2.3  จุลสาร คือ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก  อาจเป็นกระดาษแผ่นเดียวพับไปพับมา หรือ เป็นเล่มบาง ๆ มีความหนาไม่เกิน 60  หน้า  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น  โรคต่าง ๆ วิธีดูแลรักษา  และการปลูกพืชต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่ทันสมัย  เขียนง่าย ๆ จัดพิมพ์ หรือออกโดยหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน เพื่อเผยแพร่ความรู้โดยการแจกจ่ายให้กับประชาชน ห้องสมุด  และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น




                    1.2.4  กฤตภาค   คือ  ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นโดยตัดบทความ ข่าว  และสาระน่ารู้ จากวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลาที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ  บอกแหล่งที่มาบนกระดาษ ให้หัวเรื่อง และนำไปจัดเรียงเข้าแฟ้มตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง เพื่อใช้ ค้นคว้าต่อไป
       2. วัสดุไม่ตีพิมพ์  หรือโสตทัศนวัสดุ  คือ  วัสดุที่ให้ความรู้ความคิดผ่านทางตา ทางหู  ทำให้เกิด ความเข้าใจในการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น  แบ่งออกเป็นประเภทได้  ดังนี้
             2.1  โสตวัสดุ  คือ  ทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่  แผ่นเสียง  แถบบันทึกเสียง  หรือเทปบันทึกเสียง   แผ่นดิสก์  เป็นต้น




             2.2  ทัศนวัสดุ  คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้รับต้องใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องฉายช่วยขยายภาพ  เช่น   รูปภาพ  แผนที่  แผนภูมิ  วัสดุกราฟิก  หรือวัสดุลายเส้น ภาพเลื่อน  หรือฟิล์มสตริป  ภาพนิ่ง  หรือ แผ่นชุดการสอน ลูกโลก  หุ่นจำลอง  เกม  และของจริง  เป็นต้น




             2.3  โสตทัศนวัสดุ  คือ วัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ ประกอบเสียง  หรือสไลด์มัลติวิชั่น  เป็นต้น




             2.4  วัสดุย่อส่วน  คือ  วัสดุที่ได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ  ย่อส่วนลงบนฟิล์มกระดาษ ทึบแสงให้มีขนาดเล็กโดยใช้เครื่องช่วยอ่าน  เพื่อประหยัดงบประมาณและเนื้อที่ในการจัดเก็บ  ได้แก่  ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช  ไมโครการ์ด  ไมโครพรินท์




             2.5. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  คือ ทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีการแปลงสารสนเทศเป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์กลับคืนเป็นภาพ หรือเสียง ได้แก่  วิดีทัศน์  ซีดี-รอม




วิธีเลือกใช้วัสดุตีพิมพ์
        การเลือกใช้วัสดุตีพิมพ์เป็นความจำเป็นที่นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า วัสดุตีพิมพ์ประเภทใด เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้ในสถานที่ใด  เวลาใด  อย่างไร  สถานการณ์ไหน  เพื่อให้ตรงตาม วัตถุประสงค์  และใช้ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ  คุ้มค่าแก่เวลา
        1.  หนังสือ  สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์  ดังนี้
             1.1  หนังสือสารคดี
                    1.1.1  ตำราวิชาการ  อ่านประกอบการเรียนซึ่งเป็นแบบเรียนของวิชาต่าง ๆ
                    1.1.2  หนังสืออ่านประกอบ อ่านประกอบเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ให้ได้ความรู้ ละเอียดลึกซึ้งขึ้น
                    1.1.3  หนังสือความรู้ทั่วไป อ่านเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมตามหัวข้อที่ต้องการโดยดูจากสารบัญ  หรืออ่านตามความสนใจ
                    1.1.4  หนังสืออ้างอิง  อ่านเพื่อการค้นหาคำตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเนื้อหาที่ต้องการค้น
             1.2  หนังสือบันเทิงคดี  อ่านเพื่อความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่  นวนิยาย  หนังสือสำหรับ เด็ก รวมเรื่องสั้น
        2.  สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์  ดังนี้
             2.1  หนังสือพิมพ์รายวัน  อ่านเพื่อทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  และเหตุการณ์ใน ชีวิตประจำวัน  เช่น  คอลัมน์สมัครงาน  โฆษณา  ซื้อ  ขาย  แลกเปลี่ยนสินค้า   และตอบปัญหาสุขภาพ  เป็นต้น
             2.2  นิตยสารและวารสาร นิตยสารอ่านเพื่อความบันเทิง และวารสาร อ่านเพื่อประกอบ การค้นคว้าเรื่องราวที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน  และยังไม่ตีพิมพ์เป็นหนังสือ  เช่น บทความทางวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
             2.3  จุลสาร  อ่านเมื่อต้องการความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ให้ข้อมูลที่ทันสมัย เขียนง่ายๆ   เช่น  โรคต่าง ๆ และวิธีดูแลรักษา  และการปลูกพืชต่าง ๆ เป็นต้น
             2.4  กฤตภาค  ใช้ในการค้นคว้าความรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น  บทความ  ข่าว  และสาระน่ารู้


วิธีเลือกใช้วัสดุไม่ตีพิมพ์
        1.  โสตวัสดุ  ใช้ในการฟังบรรยายจากวิทยากร  การสัมมนา  การสัมภาษณ์ผู้รู้ต่าง ๆ เช่น แถบบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง   แผ่นดิสก์  แผ่นซีดี  เป็นต้น
        2.  ทัศนวัสดุ  ใช้ในการดูประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้  เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ  ภาพนิ่ง  เกม  ชุดการเรียน  ของจริง  เป็นต้น
        3.  โสตทัศนวัสดุ ใช้ในการดูและฟังประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้ เช่น  ภาพยนตร์และ ภาพนิ่งประกอบเสียง  เป็นต้น
        4.  วัสดุย่อส่วน  ใช้ในการค้นคว้าความรู้เรื่องต่าง ๆ  เช่น  ไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
        5.  วัสดุอิเล็กทรอนิกส์  ใช้ในการดูและฟังประกอบการค้นคว้าหรือการเรียนรู้  เช่น วิดีทัศน์ และซีดี-รอม  เป็นต้น







อ้างอิง     http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit2_part3.htm