จริยธรรมในการใช่งานอินเทอร์เน็ต
จริยธรรม (Ethics) ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตคือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กําหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นเเนวปฏิบัติหรือควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเพพื่อกระทําในสิ่งที่ถูกต้องเเละหลีกเลี่ยงการกระทําความผิดต่อผู้อื่น ผู้ใช้ควรระมัดระวังเเละปฏิบัติตามคําแนะนําในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ เลย
1.ด้านมารยาท ผู้ใช้งานนั้นควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นมนุษย์มีความรู้สึกต่างๆเหมือกับตน ผู้ใช้จึงควรยึดถือมารยาทในการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต เช่น
- ควรศึกษาเเละปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาทในการใช้เว็บต่างๆ ตามที่ผุ้ให้บริการกําหนดไว้
- ควรคํานึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่จะอัปโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
- ควรใช้อินเทอร์เน้ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าการทําให้เกิดความเสียหายต่อตนองเเละผู้อื่น
- ควรใช้อินเตอร์เน็ตอย่างคุ้มค่าเเละประหยัดเวลา
- ควรมีความรู้ในเรื่องที่เเสดงความคิดเห็นเเละเเสดงความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง
- ไม่ควรเเอบอ้างหรือนําข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ก่อนได้รับอนุญาติ และหากนําข้อมูลของผู้อื่นมาก็ควรมีอ้างอิงหรืระบุข้ออย่างชัดเจน
- ไม่โกหก ไม่หลอกลวง ไม่หวังผลกําไร และไม่ใส่ร้ายผู้อื่่น
- ไม่ส่งเสริมการกระทําความผิดใดๆบนอินเทอร์เน็ต
- ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเเตกเเยกหรือทะเลาะกันบนอินเทอร์เน็ต
- ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการทดลองความรู้ในทางที่ผิด
- ไม่นําเรื่องของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต
- ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือความลําคาญให้เเก้ผู้อื่น เช่น การโฆษณา
2.ด้านภาษา ภาษาทางอินเทอร์เน็ตเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ภาษาเเรก คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ สอง คือ ภาษาอังกฤษ ตังอย่างหลักการใช้ภาษาในอินเทอร์เน็ตเช่น
- พิมพ์ภาษาให้ถูกต้องทั้งในด้านตัวสะกดเเละรูปแบบ
- ใช้ภาษาที่สุภาพเเละใช้ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
- ไม่ใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย หรือความหมายกํากวมไม่หมาะสม
- ควรเลือกใช้ภาษาที่สั้น ชัดเจน เเละกะทัดรัด
- ก่อนการส่งข้อมูลผู้ใช้ควรอ่านทบทวนข้อมูลหรือข้อความที่ต้องการส่งก่อนลิส่งข้อมูลนั้น
3.ด้านความปลอดภัย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้หลากหลาย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหรือการกระทําผิดกฎหมายต่างๆ ตัวอย่างการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น
- ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกอย่างมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ไปไม่มีที่สิ้นสุด
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนสมทารถแสดงข้อมูลใดๆก็ได้ ดังนั้นข้อมูลที่เเสดงอาจไม่ใช้ข้อมูลจริง
- ควรตรวจสอบเว็บไซต์หรือไฟล์ข้อมูลก่อนอัปโหลดเเละดวน์โหลด ข้อมูลนั้นทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่กันไวรัสเข้าคอมพิวเตอร์
- ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เช่น หมายเลขบัตรประชาชน
- ไม่หลงเชื่อข้อความหรือข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่มีเเหล่งข้อมูลที่ชัดเจน
- ไม่เปิดหรือดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่ส่งมาจากเเหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
อ้างอิง: https://sites.google.com/site/kruratipipatsri/4-3-criythrrm-ni-kar-chi-ngan-xinthexrnet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น